Case Conference

1.แพทย์ประจำบ้านต่อยอด รับผิดชอบเตรียม case conference ก่อนล่วงหน้าวันที่กำหนด

2.ตามตาราง ทุกวันอังคารที่ 3 ของเดือนเวลา 8:00 – 10:00 น. โดยเลือกกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาในการวินิจฉัยหรือวาง

แผนการรักษาหรือ ผู้ป่วยที่พบไม่บ่อยน่าสนใจ อาจจะเป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยใน ผู้ป่วย OPDหรือผู้ป่วยที่รับปรึกษาจากนอกแผนกที่แพทย์ประจำบ้านต่อยอดผู้นั้นเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยอยู่และผู้ป่วยควรจะอยู่ในสภาพที่ร่วมมือในการพูดคุย

สัมภาษณ์พร้อมที่จะนำมาเข้า conference

3.ประเมินผู้ป่วยก่อนนำผู้ป่วยเข้า case conference โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยทั้งประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจทางระบบประสาท การตรวจสภาพจิต การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ การส่งทดสอบทางจิตวิทยา อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการนำผู้ป่วยเข้า case conference ถามความสมัครใจของผู้ป่วย ขออนุญาตผู้ป่วยก่อนนำผู้ป่วยเข้า conference

4.บอกอาจารย์ผู้รับผิดชอบก่อนล่วงหน้า 1 สัปดาห์ ควรเตรียม protocol ประวัติผู้ป่วยเพื่อส่งให้อาจารย์ผู้ควบคุมก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันก่อนวันท า conference จริง

5.เตรียมใบประเมินคะแนน และใบ CME ให้อาจารย์ผู้ควบคุมประเมินทุกครั้ง

6.แพทย์ผู้ทำเป็นผู้ดำเนินการ case conference โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้

- รายงานประวัติของผู้ป่วย

- เปิดโอกาสให้ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอดและอาจารย์ ซักถามประวัติเพิ่มเติม

- นำผู้ป่วยเข้าห้อง conference ทำการซักถามประวัติผู้ป่วย รวมทั้งการตรวจสภาพจิตโดยแพทย์ประจำบ้านต่อยอด/อาจารย์

- นำผู้ป่วยที่สัมภาษณ์แล้วส่งพยาบาลเพื่อนำผู้ป่วยกลับหอผู้ป่วย

- ให้นักจิตวิทยา นักสังคมคงเคราะห์นำเสนอผลการทดสอบทางจิตวิทยา รวมทั้งผลการประเมินสภาพครอบครัวผู้ป่วยเพิ่มเติม

- ดำเนินการอภิปรายเกี่ยวกับผู้ป่วยทั้งในแง่ปัญหาของผู้ป่วย การวินิจฉัย จิตพลวัต (psychodynamic formulation) การวางแผนการรักษา การด าเนินโรค และการพยากรณ์โรคโดยเริ่มการอภิปรายจากนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 , 2 และ 3 ตามลำดับ

- เชิญอาจารย์อภิปรายและเสนอข้อคิดเห็น และfeedback

7. ให้อาจารย์ผู้ควบคุมประเมินผลและให้คะแนนหลังการทำ case conference

8. ให้แพทย์ประจำบ้านส่งตัวแทนแต่ละชั้นปี เพื่อเขียนสรุปผล Final discussion นำใบประเมินผลจากอาจารย์ ส่งแผนกธุรการหลังจบชั่วโมง

Visitors: 91,313